เลือดกำเดาไหล

มีแม่บ้านไหนเป็นบ้างคะพอเข้าวีคที่ 30 เริ่มมีเลือดกำเดาไหลนั่งๆอยู่ก็ไหลนอนๆอยู่ก็ไหลแต่ก็ไม่ได้ไหลแบบเอาเป็นเอาตายนะ คือไหลแล้วพอเช็ดก็หายอาทิตย์นึงตอนนี้จะเป็นประมาณ 2 รอบ แล้วแก้ไขกันอย่างไร #ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

เลือดกำเดาไหล
1 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

เลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม รับมืออย่างไร เชื่อว่าปัญหาเลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ คน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ รู้สึกเครียดหรือเป็นกังวลว่าจะมีสิ่งผิดปกติใด ๆ ในร่างกายที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่อาการเลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยและมักไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงยังเป็นอาการที่คุณแม่สามารถรับมือได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่บ้าน เลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม รับมืออย่างไร อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาการเลือดกำเดาไหลก็อาจเป็นปัญหาที่ควรได้รับการดูแลที่เหมาะสมโดยแพทย์ได้เช่นกันแต่พบได้น้อย เพื่อให้คุณแม่ได้ทำความเข้าใจอาการเลือดกำเดาไหลและสังเกตตัวเอง บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการเลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์ ทั้งสาเหตุ วิธีดูแลตัวเอง รวมถึงสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์เอาไว้ ทำไมคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ถึงเสี่ยงต่อการเกิดเลือดกำเดาไหลได้บ่อย โดยปกติแล้ว หลอดเลือดภายในโพรงจมูกจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและเปราะบาง ซึ่งในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะผลิตเลือดออกมามากขึ้นเพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการไหลเวียนของเลือด และเมื่อหลอดเลือดบริเวณโพรงจมูกขยายใหญ่ขึ้นมาก ๆ ก็จะเสี่ยงต่อการแตกหรือเกิดความเสียหายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ อาการเลือดกำเดาไหลในระหว่างการตั้งครรภ์ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์มักส่งผลให้คุณแม่หลายคนเกิดอาการผิดปกติทางจมูก และเสี่ยงต่อการเกิดเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้น ภูมิแพ้หรือไข้หวัด เป็นโรคที่ส่งผลให้หลอดเลือดในโพรงจมูกของคุณแม่เกิดการระคายเคืองและอักเสบ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้หลอดเลือดแตกหรือเกิดความเสียหายได้ง่าย ภาวะเยื่อจมูกอักเสบระหว่างตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ส่งผลให้คุณแม่หลายคนที่อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เกิดอาการคัดจมูกและเลือดกำเดาไหล เยื่อบุภายในโพรงจมูกแห้ง โดยอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ หรือการอยู่ในสถานที่ที่อากาศแห้งมาก โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวของเลือด การได้รับสารเคมีบางชนิดที่พบได้ในยาพ่นจมูก การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุบริเวณจมูก

อ่านเพิ่มเติม
2y ago

ขอบคุณมากๆเลยค่ะแม่