มีวิธีหยุดลูกชอบกรี๊ดไหมคะ

5 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

สาเหตุที่เด็กกรี๊ด เป็นพฤติกรรมการแสดงออกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าโกรธ ไม่พอใจ หงุดหงิด อาจจะเป็นภาวะปกติในช่วงที่เด็กยังพูดได้ไม่เก่ง (วัย 1 – 3 ปี) ที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่พอใจออกมา เมื่อเติบโตขึ้น พฤติกรรมการกรีดร้อง จะลดลงจนหายไปหมด แต่เด็กจะพูดออกมา ถึงความต้องการหรือคับข้องใจเพิ่มขึ้น  เป็นผลมาจากการเรียนรู้ ผลของการกรี๊ดแต่ละครั้งได้รับผลตอบแทนอย่างไร ถ้าพอใจ ก็ทำให้ใช้อารมณ์กรี๊ดมาเป้นตัวต่อรองครั้งต่อๆไป คุณพ่อคุณแม่อย่าเผลอตามใจนะคะ เป็นพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่ ทีวี หรือสื่อต่างๆที่แสดงอารมณ์ดังกล่าวให้เด็กเห็น เกิดจากการยั่วยุ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น คนเลี้ยง  พ่อ แม่ เพื่อ ให้เด็กโกรธบ่อย ๆ เกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจมาก ส่งเสริมให้เด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่สอนให้หัดควบคุมอารมณ์ทุกอย่างต้องได้ดั่งใจ เป็นพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจของวัย 1-3 ปี เด็กขาดทักษะในการช่วยเหลือตนเองที่ดี แลเกิดจากความบกพร่องในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ไม่ดี วิธีการแก้เมื่อ ลูกมีพฤติกรรมร้องกรี๊ดๆ ให้ความสำคัญกับลูก ขณะที่ยังไม่อาการกรี๊ด หรือขณะที่ลูก เด็กปกติทั่วไปจะยังไม่เเสดงอาการร้องกรี๊ดๆ อยู่ตลอด แต่เป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กว่าเวลาประพฤติกรรมตัวดี ๆ น่ารัก ไม่ค่อยมีผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ หรือชี้ให้เด็กเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดีและเหมาะสมแล้ว แต่พอเด็กกรี๊ดออกมาเท่านั้น ผู้ใหญ่จะรีบวิ่งเข้าหาเพื่อปลอบหรือให้ความสำคัญ หรือเข้าไปดุ ว่า ตี สั่งสอนการที่ผู้ใหญ่ พ่อ แม่ แสดงออกเช่นนั้นเท่ากับว่าให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขานั่นเอง หากคุณพ่อคุณแม่ ให้ความสำคัญก่อนกรี๊ดอยู่บ่อยๆไม่ละเลยทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ทำให้เด้กเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกรี๊ดเพื่อเรียกร้องความสนใจ ในกรณีที่เอาแต่ใจตัวเอง ทุกอย่างต้องได้ ถ้าไม่ได้ก็จะโวยวาย เด็กลักษณะนี้มักจะถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจเด็กมากเกินไป จนไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่ชัด โดยที่พ่อแม่และพี่เลี้ยงจะพยายามทำทุกอย่างตามที่เด็กต้องการ เพื่อจะได้ไม่ร้องไห้ และเด็กเองก็เรียนรู้ถึงอิทธิพลของการโวยวายกรี๊ดร้องว่าจะใช้เป็น “ไม้ตาย” เวลาไม่ได้ดั่งใจ เช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่าทีการเลี้ยงดูเด็กใหม่อย่าคิดว่าการทำ ทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เด็กร้องไห้นั้น จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมีคนรักคนชอบมากมาย เด็กเองต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในกฎเกณฑ์ ลดการตามใจ ฝึกให้ช่วยตนเองเพิ่มขึ้น สิ่งใดที่เล่นไม่ได้ก็อย่าให้เล่นถึงแม้ว่าเด็กจะอาละวาดขนาดไหน ก็อย่าสนใจ แต่ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น  ลดการยั่วแหย่เด็ก หรือทำให้เด็กโกรธโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่มีผู้ใหญ่ที่ชอบกรี๊ด หรือโวยวายเป็นต้นแบบของวิธีที่จะเอาแต่ใจตัวเอง จำเป็นต้องพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา เพื่อลดแบบอย่าง ถ้าเป็นไปได้กรณีที่เปลี่ยนผู้ใหญ่ไม่ได้ก็ต้องแยกเด็กให้ห่างออกมา ฝึกให้เด็กควบคุมอารมณ์ อารมณ์รัก ชอบ ดีใจ ไม่พอใจ โกรธ ผิดหวัง ฯลฯ เป็นอารมณ์ที่พบได้ในเด็กวัย 3 – 5 ปี หน้าที่ของพ่อแม่ก็คือสอนให้เด็กรู้ทันว่าตนเองรู้สุขอย่างไร และฝึกให้หัดควบคุมอารมณ์ หรือฝึกวิธีระบายอารมณ์ ซึ่งมีหลายวิธีตั้งแต่การพูดคุย การทำสิ่งทดแทน เช่นโกรธจัด ๆ ก็ไปเตะฟุตบอล หรือว่ายน้ำ หรือวาดรูปเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ไตร่ตรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น เพิ่มทักษะในการเล่น เช่น การว่ายน้ำ เล่นบอล ถีบจักรยาน วาดรูป เล่นตุ๊กตา เล่นขายของ ฯลฯ เพราะการเล่นในเด็กมีความหมายเท่ากับการทำงานของผู้ใหญ่ ในชีวิตจริงเราพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่ลูกจะได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ ความผิดหวัง ความเสียใจ ความโรธแค้น จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่การเล่นและการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กผ่านภาวะเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ได้มีเวลาไตร่ตรอง และระบายความรู้สึกผ่านการเล่นนี้เอง เพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ปัญหาของเด็ก 3 – 5 ปี มักหนีไม่พ้นปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ทำน้ำหก ติดกระดุมเขย่ง หารองเท้าไม่พบ ฯลฯ การฝึกหัดให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลทำให้เด็กมีความชำนาญที่จะ แก้ไขสถานการณ์ที่ผิดหวังได้เก่งกว่าเด็กที่ช่วยตนเองไม่ได้ ซึ่งก็คงทำได้แค่ส่งเสียงกรี๊ด ๆ รอให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยเหลืออีกตามเคย

อ่านเพิ่มเติม

ก่อนอื่นคงต้องหาสาเหตุให้ทราบก่อนค่ะว่าทำไมลูกถึงกรี๊ด แล้วแก้จากเหตุค่ะ แต่ในกรณีที่ลูกกำลังกรี๊ดอยู่ เราคงต้องใช้ความรักและความสงบเข้าช่วย พยายามทำใจให้เย็น ไม่ใช้อารมณ์และพยายามให้เค้าสงบลงด้วยการถามคำถามว่าเป็นอะไร ถามด้วยท่าทีที่สงบนะคะ ถ้าเค้ายังไม่สงบลงก็ต้องพาเค้าไปที่ส่วนตัว ที่เงียบและไม่มีคนพลุกพล่าน แล้วก็ค่อยๆใช้ความรักเข้าช่วย กอดเขาไว้ให้แน่นค่ะ อธิบายให้เค้าฟังว่าสิ่งที่เขาทำมันไม่ดี ไม่อยากให้เค้าทำอีก การสื่อสารจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดค่ะระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก พยายามหาสาเหตุและทำความเข้าใจให้ได้ว่าทำไมเค้าถึงกรี๊ด. เมื่อเราเข้าใจแล้วเราจะสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

เสียงกรี๊ดคือการพยายามของเด็กเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ อย่างแรกสังเกตุว่าลูกกรี๊ดด้วยเรื่องอัไร ปล่อยให้ระบายเสียงจนสงบ โดยที่เราคอยดูเฉยๆ ยังไม่กอด หรือคุยใดๆ เมื่อสงบแล้ว ก้ค่อยเข้ากอดนิ่งๆเพื่อให้ลูกได้คลายความกังวลและไว้ใจที่อยากจะระบายกับเรา จากนั้นก้ค่อยสอบถามว่าไม่พอใจ หรืออยากได้อะไร โกรธ หรือเสียใจ พอลูกเนิ่มระบายก้สบตารับฟัง และค่อยๆสอนอธิบาย พร้อมกับย้ำว่ากิริยาที่ทำแบบเมื่อกี้ไม่ควรทำ ถ้าทำจะไม่มีใครอยากเข้าใกบ้อยากกอด เห็นไหมเมื่อลูกเงียบแม่ถึงมากอด มาพูดกับลูกดีๆ เค้าจะค่อยๆเข้าใจเองว่าไม่ควรทำแบบนี้ค่ะ จากนั้นก้ชวนกันทำกิจกรรมอื่นๆ พร้อมกับชมเชยลูกทุกครั้งเมื่อทำดีค่ะ

อ่านเพิ่มเติม
9y ago

เค้าจะรู้ลิมิตของตนเองค่ะ เหนื่อย หิว โดนเพิกเฉย เค้าก้หยุดเอง เพราะเคยปราบแสบน้อยด้วยวิธีนี้แหละค่ะ ทุกคนในบ้านต้องให้ความร่วมมือกัน พูดคุยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันด้วยค่ะ ขอแค่ทุกคนแข็งใจไว้ค่ะ เพราะเด็กจะชอบใช้เสียงเพื่อให้ผู้ใหญ่ยอม แต่คิดอีกแง่มันคือ

บ้านเราเป็นลูกชายแต่เวลาลูกระบายอารมณ์ พ่อเค้าจะพูดกับลูกดีๆว่า ลูกว่าอะไรนะ ลูกเสียงดังทำไม ป๊าฟังไม่รู้เรือง ลูกจะเอาอะไร ก็พูดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหยุด ซึ่งไม่นานคะ เป็นการบอกลูกว่าเราไม่สนใจในการกระทำที่ไม่สมควรคะ เราแอบสงสารลูกนะแต่มันได้ผล

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-8537)