ภาวะรกเกาะต่ำ กับภาวะแท้งคุกคาม เหมือนกันไหมค่ะ. มีแม่ๆท่านไหนเคยเป็นไหมค่ะ. ตอนนี้ครรภ์อายุ 14 w
แท้งคุกคาม คืออะไร แท้งคุกคามหมายถึง การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีแนวโน้มที่จะต้องยุติการตั้งครรภ์ก่อนสัปดาห์ที่ 20 ซึ่งเรียกได้ว่าแท้งโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณแม่อาจจะเผชิญภาวะแท้งคุกคามอยู่ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะแท้งลูกน้อยเสมอไปค่ะ สาเหตุของแท้งคุกคาม สาเหตุของแท้งคุกคามส่วนใหญ่แล้วนั้นมักจะเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อนในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีอื่นๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดแท้งคุกคาม เช่น ภาวะปากมดลูกหลวม เนื้องอกมดลูก โพรงมดลูกอักเสบ ความเครียดหรือความเหนื่อยล้า การตั้งครรภ์แฝด การแท้งในช่วงการตั้งครรภ์ในระยะแรกนั้นมีตัวเลขสูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว คุณแม่ที่สูญเสียลูกน้อยไปไม่ได้มีคุณแม่เพียงคนเดียวค่ะที่ต้องเจอกับเหตุการณ์เจ็บปวดแบบนี้ อย่าได้กล่าวโทษตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นนะคะ อาการแท้งคุกคาม อาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและมีเลือดออกเป็นสัญญาณที่เตือนคุณแม่ว่า คุณแม่อาจจะกำลังเผชิญกับแท้งคุกคามค่ะ ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะมีอาการเลือดออก ซึงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การฝังตัวของตัวอ่อนกับผนังมดลูก ความเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน และอาจจะหมายความว่ามดลูกของคุณแม่ผิดปกติ หากคุณแม่พบความผิดปกติเช่นนี้แล้ว อย่าพยายามวินิจฉัยโรคตัวเองนะคะ คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอ นอกจากนี้ หากคุณแม่รู้สึกปวดท้องน้อยตุบๆ มากเป็นเวลานาน ให้สงสัยไว้ก่อนว่า คุณแม่อาจจะประสบภาวะแท้งคุกคาม อย่ารีรอที่จะไปพบคุณหมอนะคะ วิธีป้องกันการแท้งคุกคาม วิธีดังต่อไปนี้ อาจจะช่วยคุณแม่ป้องกันแท้งคุกคามได้ระดับหนึ่งค่ะ ลดความเครียดด้วยการออกกำลังกาย ความเครียดอาจนำไปสู่แท้งคุกคามและการแท้งในที่สุด คุณแม่ควรจะหาเวลาออกกำลังกายบ้างนะคะ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุของแท้งคุกคาม นอกจากนี้ยังทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นและเป็นผลดีต่อลูกน้อยด้วยค่ะ หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานานๆ หากคุณแม่ที่กำลังเจอภาวะแท้งคุกคามควรหลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานานๆ เพราะการยืนจะยิ่งทำให้ทารกในครรภ์หย่อนลงมาที่ปากมดลูกมากขึ้น หากคุณหมอบอกว่าคุณแม่อาจจะต้องหยุดทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงการยืนนานๆ คุณแม่ก็ควรจะทำตามคำแนะนำนะคะ เพื่อให้ลูกน้อยของคุณแม่สามารถอยู่ในครรภ์ได้อย่างปลอดภัยจนครบกำหนดคลอดค่ะ งดการสุบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ตอนท้องและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่ขัดขวางการเจริญเติบโตของลูกน้อย แต่ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้ง ดังนั้นคุณแม่อย่ารอให้ภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยเลิกสูบบุหรี่ ไม่เช่นนั้นแล้วคุณแม่อาจจะรู้สึกเสียใจภายหลังได้ค่ะ การรักษา ภาวะแท้งคุกคาม ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างแน่ชัด ที่สามารถหยุดยั้งภาวะแท้งคุกคาม ไม่ให้ลามไปสู่การแท้งได้ คุณแม่ที่ประสบกับภาวะแท้งคุกคาม คุณหมอมักจะสั่งให้คุณแม่นอนพักนิ่งๆ จนกว่าจะครบกำหนดคลอด หากคุณหมอตรวจพบว่ามีความผิดปกติกับทารกในครรภ์หรือเลือดออกในช่องท้อง คุณแม่อาจจะต้องนอกพักดูอาการที่โรงพยาบาลค่ะ สำหรับคุณแม่ที่ลูกน้อยในครรภ์มีอัตราการเต้นหัวใจปกติ คุณแม่อาจจะกลับไปนอนพักที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาลค่ะ การรับมือหากเจอภาวะแท้งคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่สุดหากคุณแม่สงสัยว่าตัวเองกำลังเจอกับภาวะแท้งคุกคามในการตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกคือ คุณแม่ต้องตั้งสติและใจเย็นๆ ค่ะ หลังจากนั้นควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น แต่หากอาการเหล่านี้เกิดหลังการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 ไปแล้ว คุณแม่อาจจะไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เพียงต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดและพักผ่อนให้มากที่สุด ทางทีมงานขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่กำลังประสบภาวะแท้งคุกคามผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดี อย่าลืมนะคะแม้ว่าคุณหมอจะบอกว่าคุณแม่กำลังเจอปัญหาแท้งคุกคาม แต่นั่นไม่ได้ความหมายว่าคุณแม่จะต้องแท้งเสมอไป หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอและดูแลตัวเองและลูกน้อยในครรภ์อย่างดี คุณแม่ก็จะผ่านวิกฤตนี้ได้และได้เจอลูกน้อยสมใจแน่ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร ? เมื่อมีการตั้งครรภ์ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์จนมีขนาดใหญ่ เมื่อถึงระยะหนึ่งจะมีกลุ่มเซลล์ส่วนหนึ่งที่แยกพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ขณะที่เซลล์อีกกลุ่มจะพัฒนากลายไปเป็นรก ซึ่งมีหน้าที่ในการนำสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อให้กับทารก ขณะที่ทารกมีการเจริญเติบโตอยู่ในถุงน้ำคร่ำ รกก็จะเจริญเติบโตโดยเกาะติดอยู่กับผนังมดลูก และค่อยๆ ฝังลึกเข้าไปในผนังมดลูก ตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก จึงเรียกการเกาะของรกลักษณะนี้ว่า รกเกาะต่ำ(Placenta previa) ภาวะรกเกาะต่ำมีกี่แบบ ? มีการแบ่งลักษณะของรกเกาะต่ำเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตามความรุนแรง ดังนี้ รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมด รกปิดปากมดลูกทั้งหมดทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกเป็นบางส่วน ปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูก คือทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน ทำไมจึงเกิดภาวะรกเกาะต่ำ ? ส่วนมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะรกเกาะต่ำขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เบื้องต้นอาจมาจากปัจจัยเหล่านี้ คือ มีการคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง เคยขูดมดลูก เคยผ่าตัดที่มดลูก และเคยมีอาการมดลูกอักเสบ แม่มีอายุมาก เป็นคนสูบบุหรี่จัด การตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อในครรภ์มารดา จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการของภาวะรกเกาะต่ำ ? สำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในคุณแม่ที่มีปัจจัยสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะรกเกาะต่ำ สามารถสังเกตตัวเองได้ หากมีอาการดังนี้เกิดขึ้น ไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด เลือดไหลออกมาไม่มาก แต่เลือดออกบ่อยครั้ง ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดในช่วงอายุตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย หรือใกล้ช่วงที่จะคลอดลูก ให้พบแพทย์ทันที เพื่อจะได้อยู่ในความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายแค่ไหน ? เมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่มักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งอายุครรภ์มากขึ้นจนถึงช่วงใกล้คลอด ซึ่งมดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น เป็นผลให้รกที่เคยเกาะแน่นเกิดมีรอยปริแยกเกิดขึ้นจากการยืดขยายของส่วนล่างของมดลูก ทำให้เลือดออกตรงบริเวณที่รกเกาะ ซึ่งเลือดที่ออกจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ส่วนมากเมื่อมีเลือดออกครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และจะหยุดได้เอง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ แม่ท้องสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้างเมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ? ในเบื้องต้นหากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ในทันที คุณแม่จะต้องนอนพักผ่อนให้มากๆ และระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักทั้งนอกบ้าน และในบ้าน สำหรับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องสามารถป้องกันในเบื้องต้นได้ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และเล่าถึงปัญหาสุขภาพที่เคยมี ประวัติการเจ็บป่วยให้คุณหมอทราบ ก็จะช่วยให้การตั้งครรภ์ราบรื่นปลอดภัย เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพได้ตลอดทั้ง 40 สัปดาห์ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมไม่เหมือนกันเลยค่ะ แท้งคุกคามคือภาวะที่สามารถแท้งได้ตลอดเวลา รกเกาะต่ำคือการที่รกอยู่ใกล้ปากมดลูกขวางปากมดลูกค่ะ บางคนอายุครรภ์มากขึ้นก็อาจจะลอยขึ้น บางคนไม่ลอยก็ต้องผ่าคลอดค่ะ แต่ทั้งนี้ถ้ารกเกาะต่ำต้องระวังดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะรกเกาะต่ำเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด บ้านนี้ก็รกเกาะต่ำตั้งแต่ตั้งครรภ์จนตอนนี้30wก็ยังต่ำอยู่จ้า
อ่านเพิ่มเติมบ้านนี้เป็นค่ะ ภาวะรกเกาะต่ำ แต่นี้ 19w6d ไปตรวจอัลตราซาวนด์มารกลอยขึ้นมาแล้วค่ะ
ขอบคุณมากจ้าา🥰🥰
ไม่เหมือนกันค่ะ
ไม่เหมือนจ้า