การตัดสินใจระบุชื่อบิดา ในสูติบัตร ของแม่เลี้ยงเดี่ยว

น้องเพิ่งคลอด 17 มิ.ย. 64 นน. 3250 ( 38W 4D) ค่ะ อยากสอบถามคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่เลิกกับสามีก่อนคลอด ว่าตัดสินใจยังไงเกี่ยวกับเรื่องระบุ ชื่อบิดาในสูติบัตร หากเราไม่ค่อยได้ติดต่อกัน และเราอยากมีสิทธิ์ในการปกครองลูก 100% ... พ่อของเด็ก อยากมีชื่อในใบแจ้งเกิด (แต่ไม่เคยช่วยรับผิดชอบอะไรเลย) เราควร ตัดสินใจยังไงดีค่ะ 1. ระบุ ไม่ปรากฏบิดาไปเลย 2. ระบุชื่อ บิดา แต่ไปทำใบ ปค. 14 เพื่อมีอำนาจปกครองบุตรเพียงคนเดียว ที่จะเป็นประโยชน์กับเด็กในอนาคต... ไม่อยากให้ลูกรู้สึกแย่ เมื่อเค้าโตขึ้นค่ะ#ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ

37 ตอบกลับ

VIP Member

ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ เพราะผ่านจุดนี้มาแล้ว สำหรับลูกชายคนแรก เราแยกทางกับพ่อเด็กตั้งแต่ท้องได้ประมาณหกเดือน พอคลอดลูก พ่อของเราได้ไปขอบัตรปชช.ของผช.ไปแจ้งเกิดที่อำเภอ และแจ้งเข้าทะเบียนบ้านตัวเอง พอลูกโตเข้ารร. ก็ต้องใช้เอกสารของพ่อแม่ ติดต่อเกี่ยวกับราชการต่างๆก็ต้องใช้เอกสารของพ่อแม่ เพราะมีชื่อพ่อในใบเกิด ถ้าหากไม่จดทะเบียน แต่เลิกกัน ยังไงก็ต้องเอสเอกสารพ่อมาให้ได้ แต่หสกจดทะเบียนแล้วเลิก จะง่ายหน่อยคือยื่นแต่ทะเบียนหย่า นั่นคือที่มาของปัญหา เพราะไม่รู้ว่าตัวผช.อยู่ไหน และบางทีรู้แต่ลำบากในการไปหาและเอาเอกสาร เนื่องจากมีครอบครัวใหม่ เราจึงไปที่ว่าการอำเภอ และยื่นเรื่องทำเอกสารเป็นผู้ปกครองบุตรคนเดียว ตั้งแต่ลูกเรียนจบป. 6 เพราะไม่อยากยุ่งวุ่นวายกับพ่อของลูก และเอกสารต่างๆ จริงๆแล้ว ถ้าพ่อไม่จดทะเบียนและเซ็นรับรองบุตร พ่อไม่มีสิทธิ์อะไรในตัวลูกเลยค่ะ ส่วนลูกพอโตมา ก็เข้าใจทุกอย่าง ไม่ได้เป็นเด็กมีปัญหาอะไรค่ะ การเติบโตของเด็ก ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอน และเลี้ยงดูภายในครอบครัวคะ

เคยเห็นผ่านๆในFacebook กรณีแบบนี้ เจอหลายคำตอบเลย คือ ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อให้มีชื่อพ่อในใบสูติบัตร แต่พ่อไม่ได้ไปทำการจดทะเบียนเซ็นรับรองบุตร ยังไงสิทธิ์ก็เป็นของแม่ 100%ค่ะ แต่หากมีการฟ้องร้องต่อศาลในอนาคตจริงๆ ศาลจะพิจารณาการเป็นอยู่ของน้อง ว่า พ่อกับแม่ ใครสามารถดูแลได้ดีกว่า(กรณีแม่ทำงานแล้วมีรายได้ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ) จริงเท็จอย่างไร คุณแม่ลองตรวจสอบดูอีกทีก็ได้จ้า ส่วนจะระบุชื่อพ่อหรือไม่ระบุนั้น อยากให้คุณแม่ตัดสินใจดีๆค่ะ เพราะมันจะแก้ไขได้ยาก จากที่หาข้อมูลมา หากจะระบุชื่อทีหลัง ต้องไปตรวจดีเอ็นเอ เพื่อประกอบคำร้องอีก ยุ่งยากมากค่ะ สามีแย่มากแค่ไหน แต่ความจริงก็คือความจริงค่ะ เค้าเป็นพ่อ อนาคตน้องต้องถามหา คุณแม่ต้องเข้มแข็งนะคะ ✌🏻😊 แต่เราคิดว่าคุณแม่ได้คำตอบแล้วนะคะ ว่าจะระบุดีหรือไม่ ✌🏻 อยู่ในคำถามของคุณแม่เอง ที่ว่า ไม่อยากให้ลูกรู้สึกแย่เมื่อเค้าโตขึ้น 🥰

เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวเหมือนกันค่ะ พ่อของน้องมาเซ็นรับรองบุตรให้ พอทำให้เสร็จก็ไม่มาเจอลูกอีกเลย ตอนนี้น้องได้6เดือนแล้ว มีความสุขมากที่เห็นพัฒนาการของลูก จนลืมพ่อของลูกไปแล้วตอนนี้ เป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ เด็กโตมากับใครเขาก็จะรักคนนั้นค่ะ✌️✌️😊😊

บ้านนี้เลี้ยงเดี่ยวค่ะ ตัดสินใจเลิกกันตัดขาดกันไปเลยตั้งแต่ท้องอ่อนค่ะ เพราะเขาเองก็ไม่เคยช่วยอะไร แถมยังมาใช้เงินเราด้วยค่ะ เลวร้ายมาก เราเลยเลิกเลย เอามาเป็นภาระเพื่ออะไรคนแบบนี้ ตัดออกไป ชีวิตจะดีขึ้น จาก ปสก ตรงเลยคือเราไม่ระบุชื่อบิดาในใบเกิดและสมุดสีชมพูค่ะ เพราะพอลูกโตขึ้นจะเข้า รร จะทำอะไรมันต้องใช้ลายเซนต์และการยินยอมทั้ง2คน(พ่อแม่)ถ้าเราระบุชื่อบิดาด้วย เวลาทำเอกสารอะไรให้ลูกในอนาคตก็จะยุ่งยากนะคะ คุณแม่คิดดีๆค่ะ ส่วนถ้าไม่ระบุบิดา สิทธิ์ปกครองน้องอยู่ที่คนเป็นแม่ 100% ตามกฎหมายอยู่แล้วค่ะ ส่วนเรื่องเด็กจะรู้สึกแย่หรือไม่นั้น อันนี้คุณแม่ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด 100% เท่าที่จะทำให้เขาได้ค่ะ ให้เวลา ให้ความรัก ให้ความสุข ให้ความเข้าใจ ให้การเลี้ยงดูที่ดี ให้การอบรมสั่งสอนที่ดี เด็กจะไม่รู้สึกขาดหรือมีปัญหาเลยค่ะ เลี้ยงเขาให้ดีที่สุดนะคะ

การมีชื่อพ่อในใบเกิดไม่มีปัญหาค่ะ ของตัวเราเอง พ่อกับแม่แยกทางกันก่อนเราจะคลอดออกมา แต่แม่ก็ใส่ชื่อพ่อไป เพราะเอกสารหลายอย่าง ต้องกรอกเมื่อโตขึ้น แต่พ่อก็ไม่ได้มีสิทธิ์อะไรในตัวเราเลยค่ะ อันนี้ไม่ต้องกังวล แต่การที่ไม่ชื่อพ่อเลย อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเรื่องจิตใจน้องในอนาคตได้ค่ะ เมื่อเข้า รร. แล้วน้องไม่รู้ชื่อพ่อเลย อันนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเลยค่ะ ไม่ต้องห่วงค่ะคุณแม่ การมีชื่อพ่อ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร เพราะสุดท้ายแล้ว ต่อให้เค้ามาเรียกร้ งตอนหลัง ไม่ได้จดรับรองบุตร แล้วถ้าเราเลี้ยงลูกโดยไม่พบเจอเค้าเลย แต่เค้าเติมเต็มในส่วนนี้ อาจจะไม่ 100% แต่เชื่อว่า น้องจะเป็นเด็กที่พร้อมเหมือนคนอื่นค่ะ อันนี้ความเห็นส่วนตัวที่เกิดจากตัวเองล้วนๆค่ะ

ถ้าคิดจะไม่พึ่งพา ไม่เจอะเจอกันอีก ไม่ข้องแวะก็ไม่ต้องใส่ ถ้าไม่รู้อนาคต หรือหากมีโอกาสคืนดีกัน จะใส่ทีหลังยุ่งยากมาก เพราะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นพ่อลูก หรือหากจะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรซึ่งไม่กี่พันบาท/เดือน ในอนาคต ก็ใส่ไปค่ะ ใส่ชื่อพ่อในใบเกิดไม่ได้หมายความว่า พ่อจะได้สิทธิดูแลลูก ต้องมีใบรับรองบุตรอีกใบคะ นอกตากจดทะเบียนสมรส จะมีสิทธิ์คนละครึ่งกับแม่ตามกฏหมาย หรือพ่อตาย ในกรณีไม่มีใบรับรองบุตร ทรัพย์สินมรดกก็มิได้ตกเป็นของลูก ต้องร้องขอต่อศาลให้พิสูจน์อยู่ดี เพราะเป็นบุตรนอกสมรส

นายทะเบียนขอให้เราใส่ค่ะ ตอนแรกเราจะไม่ใส่ เขาไม่ได้เซ็นรับรองบุตรไม่มีผลอะไรทั้งนั้น แค่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกคือสัญชาติ บางหน่วยงานเขารับแค่สัญชาติไทยเท่านั้นถ้าไม่ระบุบิดา จะไม่สามารถทำได้ เราบอกไปแล้วลูกเราไม่เข้าหน่วยงานพวกนั้นหรอก แต่นายทะเบียนก็ยังยืนยันให้เราใส่ในใบเกิดเพราะอนาคตไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง เราเลยจำใจที่จะต้องใส่ชื่อพ่อในใบเกิดลูก บอกแค่ชื่อกับนามสกุลนอกนั้นนายทะเบียนคัดสำเนาให้ค่ะ

VIP Member

ถ้าไม่ใส่เลยเวลาทำเรื่อง เอกสารต่างๆจะไม่ยุ่งยากค่ะ ถ้าใส่ชื่อพ่อลงไปลูกอายุไม่ถึง 20 ปี เวลาลูกไปต่างประเทศหรือทำเรื่องสำคัญ ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อหรือใช้เอกสารของพ่อร่วมด้วย ส่วนตัวมองว่าเพื่อความไม่ยุ่งยากไม่จำเป็นต้องใส่ค่ะ แต่ข้อเสียคือเด็กจะเสียสิทธิ์ในการรับมรดกของพ่อ หรือการเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากพ่อเด็ก ถ้าจะทำต้องไปฟ้องศาลเพื่อขอตรวจดีเอ็นเอทีหลังค่ะ

เอาจริงๆๆนะแม่มีสิทในตัวลูก100% ในกรณีที่คุณกับสามีไม่ได้จดทะเบียน. นอกเสียจากเขาจะมาจดหนังสือรับรองบุตรถึงจะมีสิทเท่าเทียบกับแม่ทุกประการ ในใบเกิดมีชื่อพ่อก็ไม่แปลว่า เขาจะมีสิทในตัวลูกนะ (ลูกเราในใบเกิดมีชื่อพ่อ แต่พ่อไม่มีสิทในตัวลูก เพราะว่าเขาไม่ได้จดหนัวสือรับรองบุตร ถึงเขาจะจด ลูกเราก็ไม่สามารถเขียนเช็นได้ ก็ต้องเราเป๋นคนเช็นยินยอมถ้าต้องการให้เขาดูแลลูก)

VIP Member

ให้ในใบเกิดลูกมีชื่อพ่อเถอะค่ะ​ อย่างน้อยๆ​ เห็นแก่ลูก​ การที่มีชื่อพ่อในใบเกิดลูกไม่ได้หมายความว่า​ พ่อจะมีสิทธิ์​ในตัวลูก​ เพราะหากคุณไม่ได้จดทะเบียน​สมรส​กัน​ และพ่อไม่ได้เซ็นรับรอง​บุตร​อีกใบ​ ก็ไม่มีสิทธิ์​ในตัวลูกค่ะ​ จะมีแค่แม่เท่านั้น​ที่มีสิทธิ์​ในตัวลูก100%

ของตัดสินใจเลยว่า ไม่ระบุชื่อพ่อ เพราะในอนาคต เวลาลูกเข้าเรียน หรือทำเอกสารอะไรที่ต้องให้ทั้งพ่อทั้งแม่เซ็นจะลำบาก เลยตัดสินใจไม่ใส่ดีกว่าค่ะ (ความคิดของเราเอง) ไม่อยากมานั่งตามหาคะ

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง