น้ำหนักที่ควรขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ควรจะเพิ่มมากขึ้นไม่เกินเท่าไหร่คะ

2 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

โดยทั่วไปแพทย์มักจะแนะนำหญิงตั้งครรภ์ว่าควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่ถึงเกณฑ์กำหนด มักจะพบว่าทารกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ หรือทารกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กผิดปกติ ขณะเดียวกันหญิงตั้งครรภ์ ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก และทำให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์หลายประการ เช่น ทารกตัวโตคลอดลำบาก หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้เหนื่อยง่าย ปวดหลังมากขึ้น เส้นเลือดขอดมากขึ้น และทำให้แผลผ่าตัดติดช้า เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ง่าย” บางครั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากๆ มิได้หมายความว่าทารกในครรภ์จะตัวโตเสมอไป อาจจะได้ทารกน้ำหนักน้อยก็มี ทั้งนี้เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม โดยเน้นที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ การเพิ่มน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อการตั้งครรภ์ เป็นน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่ต้องพิจารณาตามรูปร่าง และขนาดตัวของหญิงตั้งครรภ์ เช่น ผู้ที่มีรูปร่างเล็ก และมีขนาดตัวก่อนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 5 กิโลกรัม การเพิ่มของน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ อาจจะน้อยกว่า 10 กิโลกรัมได้ ทั้งนี้ น้ำหนักที่เพิ่มจะเป็นน้ำหนักของทารก 3 กิโลกรัม และเป็นน้ำหนักของรก น้ำหล่อเด็ก เนื้อเยื่อที่ยืดขยายของเต้านม มดลูก เป็นต้น อีก 5 – 6 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ที่ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานในขณะก่อนตั้งครรภ์ โดยใน ระยะไตรมาสแรก ควรที่จะพยายามปรับให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเท่ามาตรฐาน แล้วใช้เวลาในระยะ 6 เดือนต่อมา เพิ่มน้ำหนักให้ได้เท่าที่ต้องการตลอดการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก่อนการตั้งครรภ์ ต้องระวังดูแลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ ระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหารอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะทารกจะได้พลังงานจากการเผาผลาญไขมันของหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่จะไม่ได้สารอาหารใดๆ ทั้งสิ้น หญิงตั้งครรภ์แฝดสอง หรือแฝดสาม มิได้หมายความว่าจะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเป็นสองหรือสามเท่าตามจำนวนทารกในครรภ์ แต่อาจจะเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อทารก 1 คน โดยกินอาหารภายใต้การดูแลของแพทย์อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวของหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวของหญิงตั้งครรภ์ จะมีการเพิ่มน้อยในช่วงระยะไตรมาสแรก คือประมาณ 1-2 กิโลกรัมเท่านั้น และจะมีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองจนถึงต้นไตรมาสที่สาม คือในอายุครรภ์ 3 – 8 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และในระยะเดือนสุดท้ายน้ำหนักจะคงที่ หรือลดลงบ้างเล็กน้อย ประมาณ 1/2 กิโลกรัม ดังนั้น ในไตรมาสที่สาม น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเพียง 2 – 3 กิโลกรัมเท่านั้น” “ไม่มีข้อห้ามในผู้ตั้งครรภ์ปกติค่ะ แต่ควรงดเว้นใน 1 เดือน สุดท้ายก่อนคลอด ในรายที่เคยแท้ง ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และในรายที่มีปัญหาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลผู้ตรวจครรภ์” พว.นฤมล  เปรมปราโมทย์ เรียบเรียง ขอขอบคุณพญ.วราธิป โอทกานนท์ สูติ-นรีแพทย์

อ่านเพิ่มเติม

จริง ๆ แล้วน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าใดคะ???? นั่นเป็นคำถามที่ดี แต่คำตอบที่ถูกต้องนั้นมีมากกว่าคำตอบเดียว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ 1) คุณ “ตั้งครรภ์” ลูกคนเดียวหรือแฝด 2) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ เมื่อคุณได้คำนวณค่า BMI แล้ว ให้ใช้ชาร์ทต่อไปนี้เป็นข้อมูลในการตัดสินว่าน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นระหว่าง ตั้งครรภ์ คือเท่าใด ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.34-15.87 กก. ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก. ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก. ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก. แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากไหนกัน น้ำหนักต่อไปนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะมีน้ำหนักตรงเป๊ะตามที่ระบุไว้ ดังนั้น ข้อมูลนี้จึงเป็นภาพรวมให้คุณเข้าใจ แต่ไม่ได้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ เด็ก: 3.15-3.62 กก. รก: 0.45-0.90 กก. น้ำคร่ำ: 0.90 กก. มดลูก: 0.90 กก. เนื้อเยื่อเต้านมที่พัฒนาระหว่างตั้งครรภ์: 0.90 กก. ปริมาตรเลือดที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์: 1.81 กก. ของเหลวในเนื้อเยื่อที่พัฒนาระหว่าง ตั้งครรภ์ : 1.81 กก. ไขมันและสารอาหารที่สะสมระหว่าง ตั้งครรภ์ : 3.17 กก.

อ่านเพิ่มเติม