สวัสดีคะ พอดีอยากจะถามคุณแม่หลายคนว่า เด็กอายุ 5 เดือน น้ำหนักต้องประมาณกี่โลคะ พอดีลูกพลอยอายุ 4 เดือนครึ่ง น้ำหนักยังอยู่ที่ 6.4 เองต้องทำยังไงคะ

ทำยังไงให้น้ำหนักน้องขึ้นมากกว่านี้คะช่วยแนะนำด้วยนะคะ น้องกินนมแม่คะ กินจากเต้าบ้าง ขวดบ้างบางวันน้องกิน 4 ออ 3 ออ แล้วแต่วันคะ แต่อยากให้น้องน้ำหนักขึ้นกว่านี้คะ

4 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก วัยแรกเกิด – 5 ปี เด็กก่อนวัยเรียนจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่เปลี่ยนไปจากวัยทารกค่อนข้างมาก เช่น เมื่อถึงวัยทารกจากที่เคยอ้วนกลม ศีรษะใหญ่ ตัวใหญ่ แขนขาสั้น ก้จะเริ่มยืดออก ส่วนทางใบหน้าและศีรษะจะเล็กลงเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว แขน ขา ลำตัวและลำคอจะเรียวยาวขึ้น มือและเท้าใหญ่แข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น คราวนี้พ่อแม่มาเช็คกันเลยดีกว่าว่าลูกน้อยมี น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก หรือไม่ เช็คกันเลย!! น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก ปิกติแล้วทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2.5 – 4.5 กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลกรัม พอโตขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พออายุ 4-7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นน้ำหนักก้จะเพิ่มชึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉลี่ยแล้วเด็กๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัม วิธีการเพิ่มน้ำหนักของเด็กก่อนวัยเรียนควรเริ่มที่อาหาร โดยต้องให้เด็กทานอาหารครบ 5 หมู่ รวมถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การได้พักผ่อน สิ่งที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกน้อย ไม่เพียงแต่อาหารและโภชนาการจะสำคัญต่อน้ำหนักตัวของลูกแล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ก็ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนักได้ เช่น สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ มีพื้นที่ให้ลูกได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ก็มีส่วน ถ้าคนในครอบครัวที่มีรูปร่างอวบอ้วนเด็กก็มีแนวโน้มที่จะอ้วนตามได้เช่นกัน อีกทั้งเรื่องของสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และการใช้ยาต่าง ๆ ก็ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ค่ะ แม้ว่าเรื่องน้ำหนักตัวของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอยู่สม่ำเสมอ แต่ก็อย่าวิตกกังวลจนเครียดเกินไปนะคะ เพราะร่างกายของเด็กมีระบบการย่อย การเผาผลาญ และการดูดซึมที่แตกต่างกัน อาจมีขึ้น ๆลง ๆ ในบางเดือน ที่สำคัญไม่ควรเอาน้ำหนักตัวของลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพียงแต่ให้ดูว่าอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ แต่หากสังเกตว่าลูกผอมหรืออ้วนมากไป อาจเกิดจากอาหารการกิน หรือความผิดปกติบางอย่างร่วมด้วย อย่างไรแล้วแนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์จะดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก โดยปกติเด็กแรกเกิดจะมีความยาวหรือส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร 0:00/0:00 อายุแรกเกิด – 6 เดือน เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 16 ซม. อายุ 6-12 เดือน ควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 ซม. ทั้งเด็กชายและหญิง อายุ 1-2 ปี เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 11 ซม. อายุ 2-5 ปี ควรสูงขึ้นประมาณ 6-8 ซม ./ ปี ทั้งเด็กชาย และ หญิง อายุ > 5 ปี – เริ่มเข้าวัยรุ่น ควรสูงขึ้น 6 ซม. / ปี ถ้าสูงขึ้น น้อยกว่า 5 ซม. / ปี ถือว่าต่ำกว่าปกติ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรหาสาเหตุ ขนาดรอบศีรษะตามเกณฑ์ของเด็ก เด็กเกิดใหม่มักจะจะมีศีรษะที่ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตะัว คือมีขนาดรอบศีรษะประมาณ 34 เซนติเมตร เมื่ออายุ 4 เดือน ขนาดของศีรษะจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 เซนติเมตร พออายุ 6 เดือน ขนาดศีรษะเท่ากับรอบอกของทารก เมื่อโตขึ้นอายุได้ 1 ปี ขนาดรอบศีรษะจะขยายขึ้นประมาณ 45 เซนติเมตร พออายุได้ 3 ปี ขนาดศีรษะของเด็กจะโตเป็นร้อยละ 90 ของขนาดศีรษะผู้ใหญ่ หรือประมาณ 50 เซนติเมตร หลังจาก 3 ปีไปแล้ว ศีรษะจะเจริยเติบโตได้ช้ามาก โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 เซนติเมตร ทุก 3 ปี จนอายุ 10 ปี ขนาดศีรษะของน้องจะโตขึ้นประมาณ 55 เซนติเมตร ขนาดของศรีษะลูกจะมีความความสัมพันธ์กับขนาดของสมอง คือ ถ้าศีรษะของเด็กมีการเจริญเติบโตที่ปกติดี เท่ากับว่าเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตของสมองที่ดีขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ เพราะฉะนั้นการส่งเสริมการเจริญเติบโตในช่วง 3 ปีแรก จึงมีความสำคัญมาก

อ่านเพิ่มเติม

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-134584)

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-134584)