2 ตอบกลับ

วิธีดูดเสมหะทางจมูกและปาก ทำอย่างไร ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูดเสมหะ ในกรณีเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ใช้ผ้าห่อตัวเพื่อเก็บแขนทั้ง 2 ข้างป้องกันไม่ให้เด็กเอามือมาปัดและดันขณะดูด ทำให้ดูดเสมหะได้สะดวกและนุ่มนวล ก่อนดูดเสมหะให้ตรวจเครื่องดูดเสมหะว่าทำงานดีหรือไม่ ใช้สายดูดเสมหะขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และใช้แรงดูดในขนาดพอที่จะดูดเสมหะได้ดี ขณะดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสะบัดหน้าไปมาขณะดูด และป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเสมหะหรือเศษอาหารลงปอดเมื่อเด็กมีอาเจียนขณะดูด ค่อย ๆ สอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือ ช่องจมูกให้ถึงบริเวณคอหอยหลังโพรงจมูก (ประมาณความลึกของสายโดยวัดระยะจากปลายจมูกถึงติ่งหูความลึกของสายเท่ากันไม่ว่าจะสอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือช่องจมูก) ซึ่งเด็กมักจะเกิดอาการไอเมื่อใช้สายดูดเสมหะกระตุ้นบริเวณนี้ เมื่อเด็กไอเสมหะจะหลุดจากปอดขึ้นมาในคอ ทำการดูดเสมหะในคอและปากออกให้หมดโดยขณะดูดให้ค่อย ๆ ขยับสายขึ้นลงอย่างช้า ๆ และนุ่มนวล ทำการดูดเสมหะจนกระทั่งไม่มีเสมหะในปอด สังเกตลักษณะ จำนวน และสีของเสมหะ ข้อแนะนำเพิ่มเติมดูดเสมหะทารก ถ้าเด็กไม่มีน้ำมูกให้สอดสายดูดเสมหะผ่านปากเพราะการสอดสาย เข้าทางช่องจมูก จะทำให้เด็กเจ็บมากกว่าการสอดสายเข้าทางปาก การสอดสายเข้าในช่องจมูกให้ค่อย ๆ สอดสายอย่างนุ่มนวลโดยสอดสายให้โค้งขึ้นด้านบนเล็กน้อยแล้วย้อนลงสู่ด้านล่างสายจะค่อย ๆ เคลื่อนไปตามช่องจมูก ถ้าสอดสายแล้วรู้สึกติดห้ามกระแทกหรือดันให้ถอนสายออกมาเล็กน้อย แล้วจึงค่อย ๆ พยายามสอดใหม่หากสอดสายไม่เข้าให้เปลี่ยนไปใส่ช่องจมูกอีกข้างแทน ขณะสอดสายดูดเสมหะเข้าในช่องจมูกให้ทำการดูดเมื่อมีน้ำมูกในโพรงจมูก หรือเด็กมีอาการไอ เพราะถ้าไม่มีน้ำมูกในโพรงจมูกสายดูดเสมหะจะดูดเนื้อเยื่อในโพรงจมูกทำให้เกิดการอักเสบและบวมได้ อย่าลืมให้เด็กพักเป็นระยะ ๆ ในระหว่างทำการดูดเสมหะเพื่อไม่ให้เด็กเหนื่อย ภายหลังดูดเสมหะเสร็จอย่าลืมปลอบโยนเด็กโดยการอุ้ม หรือโอบกอดจนเด็กสงบ และหยุดร้องไห้ หากไม่มีน้ำมูกหรือเสมหะในปอดแล้ว หรือลูกสามารถสั่งน้ำมูก และไอเอาเสมหะออกจากปอดได้ดี ก็เลิกดูดเสมหะได้ค่ะ

ถ้าแม่ไม่มีเครื่องดูดเสมหะ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ลูกยางแดง กระดาษทิชชู่ หรือภาชนะเพื่อใช้รองน้ำมูก และเสมหะ ผ้าห่อตัวเด็ก การเตรียมตัวเด็กก่อนดูดน้ำมูก หรือเสมหะ ใช้ผ้าที่เตรียมไว้ ห่อตัวเด็กให้แน่น จับให้เด็กนอนตะแคง เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันเด็กสำลักน้ำลาย หรืออาหารเข้าปอดหากเด็กอาเจียนขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะ ไม่ควรดูดน้ำมูก หรือเสมหะ ตอนลูกอิ่มนม หรือรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ วิธีดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง บีบลูกยางแดงให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูด สอดปลายลูกยางแดงเข้าไปในปากประมาณโคนลิ้น แล้วปล่อยมือช้าๆ ขณะที่ปล่อยมือ ลูกยางจะค่อยๆโป่งออก และเสมหะจะถูกดูดเข้าไปในลูกยางแดง ดึงลูกยางแดงออกจากปากเด็ก แล้วบีบลูกยางแดง เข้า – ออก ในน้ำสะอาดหลายๆครั้งจนหมดเสมหะ แล้วสะบัดให้แห้ง ทำซ้ำแบบเดิมจนไม่มีเสมหะ การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง บีบลูกยางแดง เข้า – ออก ในน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จนไม่มีน้ำมูกหรือเสมหะเหลือค้าง แล้วบีบ เข้า – ออก ในน้ำอุ่นอีกครั้ง จากนั้นสะบัดให้แห้ง แล้วเช็ดลูกยางแดงให้แห้ง

คำถามยอดฮิต