ความเครียดไม่ได้มีผลโดยตรงกับการทำให้น้ำนมลดลงค่ะ แต่ความเครียดไปกดฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้น้ำนมไหล ทำให้น้ำนมไหลออกได้ช้าลง ดังนั้นความเครียดมีผลทางอ้อมกับปริมาณน้ำนมค่ะ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องกลับมามีวินัยในการปั๊มนมมากขึ้น คือกลับมาปั๊มทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมกลับมาเยอะเหมือนเดิม หากคุณแม่กลัวจะไปรบกวนเวลาทำงาน ลองใช้เครื่องปั๊มที่เป็นปั๊มคู่และใส่เสื้อในที่ช่วยรัดกรวยปั๊มให้ติดกับเต้านม เพียงเท่านี้คุณแม่ก็สามารถทำงานไปด้วยปั๊มนมไปด้วยได้ค่ะ เข้าไปศึกษาข้อมูลการกู้น้ำนมได้ที่นี่ค่ะ http://th.theasianparent.com/ปฏิบัติการกู้น้ำนม-มีวินัย-ช่วงไหนก็กู้ได้/ ส่วนตอนกลางคืนที่คุณแม่ได้อยู่กับลูก คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าเพื่อกระตุ้นน้ำนมไปอีกทางนึงค่ะ แต่หากไม่ได้ทานจากเต้า ช่วงกลางคืน คุณแม่ลองทำ Power Pumping ดูนะคะ Power Pumping คือการปั๊มเพื่อเลียนแบบการดูดนมของทารกค่ะ วิธีการทำ Power Pumping มีดังนี้ค่ะ ปั๊มครั้งที่ 1 ปั๊ม 20 นาที พัก 10 นาที ปั๊มครั้งที่ 2 ปั๊ม 10 นาที พัก 10 นาที ปั๊มครั้งที่ 3 ปั๊ม 10 นาที จบ 1 ชุด ใช้เวลา 60 นาทีค่ะ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำ Power Pumping คือ ช่วง 22.00-23.00 น. หรือก่อนนอน, 02.00-03.00 น., 05.00 น. ขอให้คุณแม่กลับมามีนมไหลมาเทมานะคะ
วินัยเท่านั้นค่ะคุณแม่ ควรปั้มนมให้ได้ทุกๆ3ชั่วโมง บางครั้งถึงกับต้องตั้งนาฬิกาปลุกเตือนกันเลยทีเดียว เพื่อลูกน้อยของเราค่ะ แม่ผึ้งยังแอบเสียใจที่บางครั้งผิดวินัยเอง ทำให้น้ำนมน้อยลงเรื่อยๆจนสุดท้ายก็หมดลงเร็ว เพราะลูกไม่ค่อยดูดเต้าด้วยค่ะ สู้ๆนะคะคุณแม่
Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-7510)