ดุลูกยังไง ให้ได้ผลดี 😍😍
🌟 ดุลูกยังไงให้ได้ผลดี 🌟 ก่อนจะเข้าห้วข้อนี้ อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อลูกมีจุดเริ่มต้นคือการร้องไห้งอแง เราไม่จำเป็นต้องจบด้วยการดุเสมอไป ให้เราเลี้ยงลูกแบบเข้าใจ เข้าถึงที่มาของอารมณ์ไม่ดีของลูกนั้น ... มาจากสาเหตุไหนกันนะ‼️ ✍️✍️ เมื่อลูกร้องไห้งอแง ให้คุณพ่อคุณแม่ลองตั้งข้อสงสัยก่อนว่า การร้องไห้มาจาก 3รูปแบบนี้หรือไม่ ❇️ อย่างนี้ ... ไม่ต้องดุกัน ❇️ 👉🏻 1) วัยอยากทำเอง เมื่อลูก #เข้าสู่วัยพึ่งพาตัวเองได้ เขาจึงอยากทำอะไรอะไรด้วยตัวเอง อยากลงมือทำเองมากกว่าการแค่มองดูอยู่เฉยๆ หรือที่ผู้ใหญ่มักมองว่า นี่คือ “ลูกซน” ❎ ไม่ใช่ตั้งท่าจะดุลูกเสียแล้ว 📌ลูกเขากำลังพัฒนาศักยภาพอยู่ ให้ผู้ใหญ่เฝ้าดู >> หากอยากห้ามหรือดุ ให้เปลี่ยนเป็นพูด ✅ “ขอแม่ช่วยหน่อยได้ไหมเอ่ย” 👉🏻 2) วัยยึดติด (ลำดับ กิจวัตร สถานที่) ก็ความจำปริยาย (Implicit Memory) จดบันทึกไว้ไม่รู้ตัว จะทำให้ลูกซึมซับสิ่งที่เห็นและได้ยินอย่างไม่หยุดยั้ง เขาเห็นกิจวัตรมาตลอดๆ จนเข้าสู่ช่วงวัยยึดติด แล้วพอมาวันหนึ่งแม่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน .... “ลูกจึงอารมณ์บูดได้” ✳️ ยึดติดกิจวัตร ทุกวันเคยเดินผ่านทางนี้ แล้วลูกเขาได้มีเวลามองดูนกมองเห็นปลา พอมาวันนี้แม่จะเร่งรีบทำท่าจะไปทางลัดหรือเร่งรีบผิดปกติ ไม่มีเวลาให้เขาได้ดูสิ่งที่เคยได้ดู ลูกจึงต้องร้องไห้ไม่ยอมขยับจากตรงนี้ ✳️ ยึดติดลำดับขั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เคยทำแบบนี้ก่อนแล้วค่อยทำอีกสิ่งตาม พอวันนี้แม่สลับกันยุ่งเหยิงไปหมด ✳️ยึดติดสถานที่ เคยนั่งตรงนี้ประจำ มาวันนี้ต้องยกที่นั่งให้แขก ‼️อยากให้ผู้ใหญ่ระวังตรงนี้ ลูกยึดติดได้มากกว่าผู้ใหญ่เป็นหลายเท่าค่ะ 📌เด็กเขารู้สึกไม่มั่นคงขึ้นมา จึงได้แสดงออกทางอารมณ์นั่นเอง 👉🏻 3) ช่วงวัยทอง เป็นช่วงการพัฒนาของสมองด้านอารมณ์กำลังพัฒนาเติบโตกว่าสมองส่วนเหตุผล จึงเป็นช่วงที่พ่อแม่เห็นบ่อยๆว่าลูกแสดงออกทางอารมณ์ง่าย ดังนั้นพ่อแม่อย่าเพิ่งไปตัดสินว่าลูกว่า “เอาแต่ใจ” แล้วดุว่าลูกนะคะ ก่อนดุลูก ควรตั้งข้อสงสัยใน3ประเด็นนี้ก่อนนะคะ แล้วเราจะเข้าใจลูกมากขึ้น เราจะใจเย็นขึ้น มันจะช่วยให้เรา “ดุลูกน้อยลง” ค่ะ . . . ⁉️แต่ไม่ว่ายังไงมันก็มีเรื่องที่เราต้องดุลูก ❇️ดุยังไงให้ได้ผลดี ❇️ 👉🏻 #ดุอย่างจริงจัง เด็กจะสัมผัสได้ถึงความจริงจังจากสีหน้าเข้มงวด และเสียงอันดัง จึงทำความเข้าใจได้ว่า “เรื่องนี้ไม่ควรทำนะ” ที่เรียกว่า >>การประเมินปฏิกิริยาจากรอบข้าง