ความเสี่ยงและการเตรียมพร้อมด้านอาหารเสริมและร่างกายตอนท้องมีอะไรบ้างคะ

2 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ภาวะเสี่ยงตอนตั้งท้องที่ผิดปกติและอาจทำให้เกิดอันตรายกับแม่และลูกในท้องได้ แบ่งประเภทของความเสี่ยงเอาไว้เป็น 5 ประเภท 1. โรคทางพันธุกรรมของคู่สมรส มีประวัติของคู่สมรสว่ามีโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาสู่ลูกได้ เช่น โรคเลือดจาง นอกจากคุณแม่ที่มีประวัติมีบุตรยาก มีประวัติว่าเคยแท้งบุตร และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาแล้วเกิน 4 ครั้ง ก็อยู่ในกลุ่มอาจเกิดภาวะเสี่ยงได้เช่นกัน 2. อายุของคุณแม่ ถ้าตั้งครรภ์ครั้งแรกขณะแม่อายุน้อยกว่า 15 ปี มีโอกาสคลอดบุตรก่อนกำหนดสูง ขณะที่ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกที่แม่อายุเกิน 35 ปี ทารกจะมีโอกาสเป็นโรคปัญญาอ่อนหรือโครโมโซมผิดปกติได้สูง 3. ลักษณะร่างกายของคุณแม่ คุณแม่ที่มีเชิงกรานแคบมีโอกาสทำให้คลอดยากได้ 4. ภาวะโรคประจำตัวหรือโรคที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว โรคที่อาจกำเริบขึ้นถ้ามีครรภ์ เช่น โรคหัวใจโต หัวใจรั่ว ความดันโลหิตสูง หืด โรคเนื้อเหยื่อเกี่ยวพัน เช่น SLE เป็นต้น 5. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือท้องไม่โต เด็กไม่ดิ้น น้ำหนักตัวแม่ไม่เพิ่มตามเกณฑ์ ถ้าเพิ่มน้อยไปแสดงว่าทารกหรือแม่ไม่สมบูรณ์ ถ้าเพิ่มเร็วไปอาจเป็นครรภ์แฝด หรือครรภ์เป็นพิษ หรือคุณแม่ที่มีระดูขาวข้นเหม็นแสดงว่า อาจมีการอักเสบในช่องคลอด รวมทั้งอาการมีไข้ ก็ต้องให้ความสนใจเพราะเป็นสัญญาณบ่งบอก ถึงการติดเชื้ออักเสบ (อ้างอิงจาก kapook.com) ทั้งนี้การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยต่อแม่และลูกน้อย คุณแม่ควรปฏิบัติตัวดังนี้ • เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ หากมีปัญหาสุขภาพให้ทำการรักษาหรือควบคุมโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ต่อไป เช่น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะต้องควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนตั้งครรภ์ • ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งประวัติส่วนตัว ประวัติโรคที่เป็นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการดูแลรักษา และมาพบแพทย์เป็นระยะตามนัดอย่างสม่ำเสมอ วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ • งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดผลต่อครรภ์ได้ • ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยจนเกินไป • คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง • ทำจิตใจให้ผ่อนคลายและพักผ่อนให้เพียงพอ • รับประทานให้ครบ 5 หมู่และเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับแม่ท้องนะคะ ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bumrungrad.com/th/women-center-health-obgyn-bangkok-thailand/conditions/high-risk-pregnancy

อ่านเพิ่มเติม

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-9338)