4 ตอบกลับ
อาการมือเท้าบวมในการตั้งครรภ์เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนแปรปรวน ซึ่งทำให้มีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง การเพิ่มขึ้นของเลือดทั้งหมดในระบบหมุนเวียนเพราะแรงกดที่มีต่อหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น ร่างกายเกิดการกักของเหลวไว้มากกว่าปกติ จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการท้องอืด เท้าบวม ขาบวม หรือมือบวมได้ อาการบวมเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ร่างกายกักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็ทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดจากบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะรู้สึกบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้า หากต้องยืนหรือนั่งนานๆ บางคนอาจจะรู้สึกว่าแหวนที่สวมตามนิ้วมือคับ หรือมีอาการหน้าบวมร่วมด้วย อาการบวมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มักเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวันเมื่ออากาศเปลี่ยนทั้งร้อนและเย็น อาการบวมก็จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวยิ่งจะทำให้คุณแม่บวมได้มากขึ้น บางคนอาการอาจเริ่มจากเท้าบวมจากนั้นมือบวมและชาก็ตามมา และมีอาการหน้าบวมหลังจากตื่นนอน คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถรับมือกับอาการบวมด้วยวิธีง่ายๆ คือ หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ และพยายามนั่งพักให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ หมั่นตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ เพื่อตรวจคัดกรองสาเหตุอื่นๆ ของอาการบวม การนอนตะแคง ช่วยลดน้ำหนักที่กดทับกระดูกสันหลังได้ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้ายเป็นท่านอนที่เหมาะสมที่สุด พยายามยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ หากอยู่ที่ทำงาน คุณแม่ควรหามานั่งเตี้ยๆ หรือกล่องมาหนุนให้ขาสูงขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างและหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นตลอดจนยืดขาโดยให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน แล้วค่อยๆ เหยียดปลายเท้าเพื่อให้กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย ไม่ควรใส่ถุงเท้าที่รัดแน่นเกินไป และควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและรองรับการขยายตัวของเท้าที่ใหญ่ขึ้นของคุณแม่ ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำเปล่า เพราะหากคุณแม่ดื่มน้ำน้อย ร่างกายจะพยายามกักเก็บน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณแม่ยิ่งบวมขึ้น ไม่กินเค็มเค็ม เพราะเกลือหรือโซเดียมเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบวม แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมที่เท้าได้ เวลานอน ใช้ผ้าหนุนให้เท้าสูงขึ้น เพื่อเวลาพลิกตัวปลายเท้าก็ยังคงอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
เป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ อาการบวมเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ร่างกายของเรากักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไปก็ทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้แม่ท้องมีอาการมือบวม เท้าบวมคือ -การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย -การขยายตัวของมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ไปทับเส้นเลือดดำ ทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ชื่อว่าเวนาคาวา (vena cava) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดจากบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก ทำให้เกิดอาการมืิบวม เท้าบวม อย่าเห็นได้ชัดในช่วงปลายไตรมาสที่ 2ของการตั้งครรภ์ - คุณแม่มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องยืน เดินหรือนั่งท่าเดิมนานๆ อาการเหล่านี้จะหายไป เมื่อหลังคลอดค่ะ หากเป็นการบวมธรรมดาทั่วไป ไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อทารกในครรภ์แต่ถ้ามีอาการอื่นแทรกซ้อนตามมาเช่น อาเจียนอย่างหนัก ปวดหัวรุนแรง ตาพร่ามัว ควรรียพบแพทย์เพราะอาจเป็นความดันสูงได้ค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรเลีี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดิมนานๆ ควรมีการเปลี่ยนท่าบ้าง และหากต้องนั่งนานขากบ่องหรือเก้าอี้ขนาดเล็กมารองที่ขาจะได้ยกขาให้สูง ใส่รองเท้าที่รับกับอุ้งเท้าได้ดี ไม่ควรใส่ส้นสูง และดื่มน้ำมากๆ เพื่อร่างกายจะได้ขับถ่ายจะได้ไท่กักน้ำไว้ รวมถึงงดอาหารรสเค็มเพราะเป็นตัสการกระตุ้นให้ร่างกายบวมน้ำได้ง่าย รวมถึงท่านอนควรนอนตะแครงทางซ้าย จะได้ไม่กดทับเส้นเลือดดำทางด้านขวาด้วยค่ะ ที่มา: บทความความ "อาการยอดฮิตช่วงท้องำตรมาสสุดท้าย" โดย The Asisnparent Thailand http://th.theasianparent.com/5-อาการยอดฮิตช่วงท้องไตรมาสสุดท้าย/
เพื่อช่วยลดอาการเท้าบวมเบื้องต้นลองวิธีต่อไปนี้ดูนะคะ - ไม่ควรยืนหรือเดินติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ควรหาเวลานั่งพักเท้าบ้าง - ถ้าต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ควรหาเก้าอี้มาวางขาให้ยกสูงขึ้นในแนวราบเพื่อให้เลือดไม่ลงไปที่ขามากเกินไป และควรหาเวลาเปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นบ้าง ที่สำคัญไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ เป็นเวลานานๆ - ควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดรูปจนเกินไป คุณแม่ท่านไหนที่ต้องการใส่กางเกงก็ควรเลือกผ้าที่ยืดได้ ไม่ควรใส่พวกผ้ายีนเพราะมันจะรัดแน่นจนเลือดที่ไหลไม่สะดวกอยู่แล้วยิ่งไหลไม่ได้ทำให้ขาบวมได้ง่า - ถ้าเกิดมีอาการขาบวมปวดขาเกิดขึ้น สามารถใช้วิธีแช่ขาในน้ำอุ่นก่อนนอนทุกวันก็จะช่วยลดอาการขาบวมลงได้ - ถ้าไม่มีเวลาแช่น้ำอุ่น ก็ใช้วิธีหาผ้า หมอน หรืออะไรก็ได้มาวางรองใต้ขา เพื่อให้ขายกสูงขึ้นเลือดจะได้ไหลเวียนได้สะดวก อดทนหน่อยนะคะคุณแม่อีกไม่กี่สัปดาห์น้องก็จะออกมาให้คุณแม่ชื่นใจแล้วค่ะ
กีวีค. คะแม่......