อยากให้ลูกในท้องมีน้ำหนักเยอะๆค่ะ

กินยังงัยให้ลูกตัวโตกันบ้างค่ะ

10 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

แนวทางการดูแลรักษา วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ อาหาร: เน้น “สารอาหารที่มีประโยชน์ (nutritions)” ไม่ใช่เน้น “พลังงาน (calories)” ทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลายและมาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร ทารกคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อแพ้ไข่ แพ้นม พักผ่อน: การพักผ่อนไม่พอ ความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ออกกำลังกาาย: การออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำได้ และพบว่าอาจช่วยให้สุขภาพลูกแข็งแรงด้วย ดูแลรักษาโรคประจำตัวของมารดา ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทารกที่ตัวเล็ก คุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพทารกอย่างละเอียด

อ่านเพิ่มเติม

1. เราจะสงสัยว่าทารกในครรภ์ตัวเล็ก ถ้า… – น้ำหนักคุณแม่ ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นได้ ไม่ต้องกังวล – การวัดความสูงของมดลูกโดยแพทย์เมื่อมาฝากครรภ์ แล้วมีขนาดน้อยกว่าปกติ ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

อ่านเพิ่มเติม

3. สาเหตุ “ทารกตัวเล็ก” ไม่ใช่ “ทารกที่ผิดปกติ” เสมอไป – ทารกตัวเล็ก สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒานาของร่างกายและระบบประสาทและสมองปกติ แต่มีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติได้ สาเหตุหลัก จะเป็นเรื่องของพันธุกรรมพ่อแม่ ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กเหมือนกัน แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น สาเหตุจากแม่: แม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สาเหตุจากลูก: ลูกมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด

อ่านเพิ่มเติม

2. เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์ตัวเล็กหรือไม่ – เนื่องจากทารกที่ตัวเล็กกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรงและอาจจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณหมอที่ดูแลจะทำการตรวจทารกด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อยืนยันว่าทารกตัวเล็กจริงหรือไม่ โดยจะใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวทารกที่น้อยว่า 10% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทารกปกติในอายุครรภ์นั้นๆ – ถ้าตรวจพบว่าทารกตัวเล็กจริง คุณหมอจะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ทำได้อย่างไร อยากให้ลูกในท้องแข็งแรง เติบโตเต็มที่ แต่ก่อนที่จะไปดูวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง ก็ขอไขความกระจ่างเรื่องท้องเล็กกันก่อน แม่แต่ละคนมีรูปร่างที่ต่างกัน ท้องบางคนจึงใหญ่เล็กแตกต่างกันไป โดยเฉพาะท้องแรก ดังนั้น การที่แม่ท้องเล็กไม่ได้หมายความว่าลูกในท้องจะตัวเล็กเสมอไป แต่เราจะสงสัยว่าทารกในครรภ์ตัวเล็ก ถ้า

อ่านเพิ่มเติม

4. การดูแลรักษา การดูแลรักษาที่สำคัญ คือ “การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และคลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม” ไม่ใช่เน้นการเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กให้กลับมาเป็นปกติ

ตามเกณฑ์ก็พอดีแล้วค่ะ ออกมาโตข้างนอกได้อีก เดียวน้องจะมีภาวะเสี่ยงอ้วนหรือโตเกินเกณฑ์คะ

ไข่ต้ม วันละ 3 ฟอง กล้วย วันละ 2 ลูก นมวันละ 3 แก้ว /กล่อง อัดไปค่ะ

VIP Member

ไม่กลัวคลอดยาก คลอดผ่านช่องคลอดไม่ได้หรอคะ?

6y ago

เด็กที่น้ำหนักแรกคลอดเยอะเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดีนะคะ กินให้พอดีให้ครบ5หมู่ ดื่มน้ำเยอะๆก็พอแล้วค่ะ บางทีกินเยอะก็ไม่ได้แปลว่าจะลงที่ลูกหมดนะคะ เอาพอดีๆก็พอเนอะ

VIP Member

เน้นโปรตีน ไข่ กล้วยค่ะ น้ำหนักจะลงที่ลูก