การเจาะถุงน้ำคร่ำมีความเสี่ยงกับลูกในท้องมากน้อยแค่ไหนคะ ถ้าไม่เจาะจะมีวิธีการตรวจแบบอื่นอีกหรือไม่ที่จะทราบภาวะเสี่ยงของทารกที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม (แม่ตั้งครรภ์ตอนอายุ 35 ค่ะ)

7 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

"การเจาะน้ำคร่ำมีโอกาสที่อาจทำให้แท้งบุตร (น้อยกว่า 1% หรือประมาณ 1 ใน 200 ถึง 400) นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เกิดแผลที่ตัวเด็กหรือตัวคุณแม่ หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนด แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก" ส่วนหนึ่งของบทความ"การเจาะน้ำคร่ำตรวจอะไรได้บ้าง" จาก The AsianParent Thailand ซึ่งคุณแม่ติดตามอ่านรายละเอียดเกี่ยวการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกายทารก สำหรับคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไปตามลิ้งค์บทความนี่นะคะ http://th.theasianparent.com/การเจาะน้ำคร่ำ-ตรวจอะไรได้บ้าง/ แต่หากคุณแม่ยังกังวลเกี่ยกับการเจาะน้ำคร่ำ เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะสามารถคัดกรองดาวน์ซินโดรม ซึ่งได้ผลมากถึง 99% นั่นคือการตรวจแบบ Nifty testค่ะ คือวิธีการตรวจกรองหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดาโดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตรก็สามารถตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของลูกได้ วิธีดังกล่าวนี้คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป การตรวจอาศัยหลักการวิเคราะห์หาลำดับของสารพันธุกรรมเพื่อตรวจสอบการเกินของโครโมโซมคู่ที่ 21 คู่ที่ 18 และ 13 และนอกจากนี้ยังสามารถตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้อีกเช่นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ซึ่งวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ปลอดภัยและไม่มีความเสี่ยงเท่ากับการเจาะน้ำคร่ำ โดยคุณแม่สามารถศึกษาข้อมูลการตรวจ Nifty test จากลิ้งค์บทความนี้นะคะ http://th.theasianparent.com/nifty-test-ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่/

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง