การคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อทารกที่เกิดมาไหมคะ
การคลอดก่อนกำหนด คือการคลอดก่อนอายุครรภ์ 38 สับปดาห์ แต่หากคลอดก่อนประมาณ 1-2 อาทิตย์ก่อนอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ จะไม่ค่อยมีผลกระทบใดๆมากนัก และถ้าคลอดก่อนหน้านี้มากๆ ปัญหาที่พบบ่อยคือ เรื่องการหายใจ ยิ่งอายุครรภ์น้อยเท่าใด ทารกก็จะเสี่ยงต่อการหายใจลำบากหลังคลอด และรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์มีโอกาสหายใจลำบากรุนแรงจนส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหลังคลอด กว่าจะสมบูรณ์พอที่แพทย์สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจออกได้ บางรายกินเวลาหลายสัปดาห์เลยทีเดียว นอกจากนี่ยังมีปัญหาด้านอื่นๆได้แก่ 1. ปัญหาการรักษาสมดุลด้านต่าง ๆ ของร่างกาย ทารกกลุ่มนี้จะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายตนเองได้ดี เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม จึงเห็นกันเสมอ ๆ ว่าทารกต้องอยู่ในตู้อบตั้งแต่แรกเกิด นอกจากนี้น้ำตาล เกลือแร่บางอย่างในเลือดมักต่ำจากที่ร่างกายมี เนื่องจากมีเวลาสะสมระหว่างอยู่ในครรภ์คุณแม่ได้น้อย แม้กระทั่งการรักษาสมดุลน้ำก็ไม่ดี ได้สารน้ำมากเกินก็มีปัญหาบวม น้อยเกินก็อาจทำให้ไตล้มเหลว 2. ปัญหาระบบหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนดยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบและทิศทางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดได้ตั้งแต่ระยะแรก ทำให้หัวใจอาจทำงานหนักกว่าปกติ มีภาวะปอดขึ้น ยิ่งซ้ำเติมให้หายใจลำบากเพิ่มขึ้นอีก ถ้ามีอาการมากอาจต้องให้ยาหรือทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ผลกระทบของการไหลเวียนเลือดที่ไม่พอ ก็อาจทำให้อวัยวะอื่นทำงานบกพร่องไปด้วย เช่น ไตทำหน้าที่น้อยลงทางเดินอาหารเคลื่อนไหวหรือดูดซึมอาหารน้อยลง 3. ปัญหาทางระบบประสาท ใน 2-3 วันแรกของชีวิต ทารกที่มีอาการหายใจลำบากรุนแรง หรือมีปัญหาของหัวใจหรือระบบไหลเวียนเลือด อาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในโพรงสมอง ซึ่งอุบัติการณ์จะสูงในทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ทารกที่เกิดภาวะนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อความพิการระบบประสาทระยะยาวได้ 4.ปัญหาการติดเชื้อ ทารกเกิดก่อนกำหนดมีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ เกราะป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ทั้งในทางเดินหายใจและทางเดินอาหารก็ไม่แข็งแรง ซึ่งเป็นทางเข้าของเชื้อโรคที่สำคัญที่สุด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทารกได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายมากที่สุดคือการสัมผัสกับคนรอบข้าง เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคนที่จะมีเชื้อสะสมตามมือและตามร่างกาย โดยไม่ได้ก่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมาสัมผัสกับทารกโดยไม่ได้ล้างมือ ไม่ว่าจะโดยตรง หรือผ่านทางอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเกราะธรรมชาติของร่างกายมีช่องทางเข้าได้ง่าย เช่น ผิวหนังที่บางหลุดลอกเป็นแผล หรือบริเวณให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดหรือที่สะดือของทารก เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนแล้วก่อโรคได้ 5. ปัญหาการมองเห็น ทารกเกิดก่อนกำหนด มีการเจริญพัฒนาของเส้นเลือดที่จอประสาทตายังไม่เต็มที่ เมื่อมีปัญหาของระบบอื่น ๆ ข้างต้น โดยเฉพาะระบบหายใจ ทำให้ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ด้วยการให้ออกซิเจนเพื่อรักษาชีวิตให้รอดการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือดมีผลต่อการตึงตัวของเส้นเลือดที่จอประสาทตา โดยระดับออกซิเจนที่สูงขึ้นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว เกิดการขาดเลือดของจอประสาทตาบริเวณที่เส้นเลือดยังงอกไปไม่ถึง เส้นเลือดใหม่ที่งอกใหม่จะมีลักษณะที่ผิดปกติ และมีเยื่อพังผิดดึงรั้งทำให้จอประสาทตาหลุดลอกได้ ยิ่งน้ำหนักน้อยยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติทางการมองเห็นซึ่งความรุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ สายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ตาเหล่หรือตาส่าย ที่มา: ส่วนหนึ่งของบทความ " เรื่องต้องรู้ของเด็กคบอดก่อนกำหนด" โดย รศ.พญ.พิมล วงศ์ศิริเดช ผู้เขียน
อ่านเพิ่มเติมการคลอดก่อนกำหนดจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายของเด็ก ที่พบบ่อยมีดังนี้ น้ำหนักตัวน้อย - เด็กคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ แพทย์จะดูแลทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดเป็นพิเศษที่โรงพยาบาล และจะให้อาหารทางสายยาง การให้เลี้ยงด้วยนมแม่ เพราะมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาระบบสมองและร่างกาย พัฒนาการช้า - ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กที่คลอดครบกำหนด แต่จะเป็นแค่ช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นพัฒนาการลูกน้อยจะกลับเข้าสู่ปกติ การนั่ง การคลาน ก็เหมือนกับทารกทั่วไป แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเดินได้ช้ากว่าเด็กทั่วไปประมาณ 2 เดือน และ 80% ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการที่เป็นปกติเมื่ออายุครบ 2 ปี ดังนั้นคุณแม่มือใหม่ควรดูแลสารอาหารให้ครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังต้องการปริมาณพลังงานมากกว่าปกติเพื่อเสริมการเจริญเติบโต การติดเชื้อ - เด็กคลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายในช่วงขวบปีแรก ทั้งนี้เนื่องจากกลไกการป้องกันการติดเชื้อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ รวมทั้งได้รับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อจากแม่ในระดับต่ำกว่าทารกคลอดครบกำหนด จึงต้องระมัดระวังความสะอาดเป็นพิเศษ โลหิตจาง - เนื่องจากมีเหล็กสะสมไว้น้อยและจะถูกนำออกมาทดแทน ระดับฮีโมโกลบินที่ลดลงจากการเจริญเติบโต ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดมีภาวะโลหิตจางโดยธรรมชาติที่รุนแรง และยาวนานกว่าทารกคลอดครบกำหนด ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ - โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกเนื่องจากระบบทางเดินหายใจและปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดหายใจมีเสียงดัง โดยเฉพาะในขณะที่นอนหลับหรืออยู่ในห้องที่เงียบสงบ มีการหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ และอัตราการหายใจมีการเปลี่ยนแปลงมากในขณะตื่นและนอนหลับ การมองเห็น - เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของเส้นเลือดจอประสาทตา ทำให้มีความเปราะบาง แตกง่ายทำให้มีเลือดออกและเกิดแผลเป็นในจอประสาทตา เกิดการดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการมองเห็น ทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 35-36 สัปดาห์หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัมทุกคนจะต้องได้รับการตรวจตาก่อนออกจากโรงพยาบาล และจะตรวจซ้ำในสัปดาห์ที่ 7-9 การได้ยิน - ทารกคลอดก่อนมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินสูงกว่าทารกคลอดครบกำหนด จึงต้องได้รับการตรวจสอบการได้ยินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนออกจากโรงพยาบาล และควรได้รับการตรวจซ้ำเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการสูญเสียการได้ยินจะมีส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูดและภาษาได้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมความเสี่ยงมีมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณแม่ด้วยนะคะ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเด็กทารกก็จะมีดังนี้ค่ะ - ร่างกายไม่สมบูรณ์ - เสียชีวิตเพราะร่างกายยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ - มีโรคเรื้อรัง ประสาทตาผิดปกติ ตาบอด เนื่องจากการให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บนี้นะคะhttp://thaihealthlife.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94/
อ่านเพิ่มเติมการคลอดกำหนดจะมีความเสี่ยงในสถานะการณ์ที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการตั้งครรภ์ของคุณแม่คะ ถ้าคุณแม่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดคุณควรพักผ่อนและไม่ทำงานหนัก รับประมานอาหารที่มีประโยชน์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์คะ
Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-9160)