ตติตา สารธิ profile icon
BronzeBronze

ตติตา สารธิ, Thailand

ผู้ใช้งาน

About ตติตา สารธิ

คุณแม่ of 1 สุดน่ารัก ซุปเปอร์ฮีโร่

My Orders
Posts(4)
Replies(3)
Articles(0)
ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด แก้ไขอย่างไร 1.ปรับท่าทางในการป้อนนม บางทีเจ้าตัวน้อยอาจไม่ยอมดูดนมจากขวดเพราะท่าให้นมไม่ถูกต้องทำให้เขาไม่สบายตัวก็เป็นได้ ลองประคองเจ้าน้อยนั่งตักคุณ ลำตัวตั้งตรง โดยให้ศีรษะของลูกพิงอยู่กับอกของคุณ ท่านี้จะช่วยลดความอึดอัดจากลมในท้องและกรดไหลย้อนได้ บทความแนะนำ รับมือ 5 อาการปวดท้องในเด็กที่พบมากที่สุด 2.เอียงขวดนมให้เหมาะสม ควรเอียงขวดนมให้น้ำนมเต็มบริเวณจุกนม เพื่อลดปริมาณของอากาศที่เจ้าตัวน้อยอาจจะดูดเข้าไปและทำให้ลูกท้องอืด ไม่สบายท้อง ทำให้ไม่อยากดูดนมจากขวด 3.เลียนแบบการดูดนมจากอกแม่ ขอแนะนำสองวิธีในการปรับ วิธีแรก อุณหภูมิของนมต้องเหมาะสม เด็กบางคนชอบนมอุ่นๆ เหมือนกับนมที่เพิ่งออกจากอกแม่ แนะนำให้คุณแม่ลองปั๊มนมใส่ขวดแล้วป้อนลูกน้อยทันที ส่วนวิธีที่สอง สำหรับเจ้าตัวน้อยที่อาจไม่ชอบดูดนมจากขวดเพราะจุกนมไม่เหมือนหัวนมของแม่ ในกรณีนี้ ลองเปลี่ยนเป็นจุกนมที่มีความนุ่มและรูปทรงใกล้เคียงกับหัวนมของแม่ ดูดแล้วให้ความรู้สึกเสมือนดูดนมจากเต้าของแม่ ซึ่งในท้องตลาดมีผลิตออกมาหลายแบบ อาจจะมีสักแบบหนึ่งที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยของคุณ 4.ลองป้อนจากถ้วย ช้อน หรือหลอดดูบ้าง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนนมจากขวดเสมอไป เพราะวัตถุประสงค์คือ การให้ลูกยอมกินนมด้วยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการเข้าเต้า ลองค่อยๆ ป้อนนมจากถ้วยป้อนนม หรือใช้ช้อน หรือหลอดก็ได้ค่ะ คุณอาจค้นพบว่าเจ้าตัวน้อยยอมกินนมเมื่อป้อนด้วยวิธีเหล่านี้ก็ได้ 5.คุณแม่ต้องลองซ้อมไม่อยู่บ้านสักวัน เด็กส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมดูดนมจากขวดเวลาที่คุณพ่อหรือพี่เลี้ยงเป็นคนป้อนนมจากขวด เพราะเขารู้ว่า คุณแม่ยังอยู่บริเวณนั้น แม้ว่าคุณแม่จะซ่อนตัวอยู่ในห้องอื่น แต่เจ้าตัวน้อยก็มีสัญญาณชาตที่จะล่วงรู้ได้ว่าคุณแม่ไม่ได้ไปไหนหรอก ดังนั้น คุณแม่ต้องใจแข็งออกไปนอกบ้านจริงๆ เลยค่ะ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้อนนมจากขวดได้มากกว่า อีกวิธีหนึ่งคือ ขณะที่พี่เลี้ยงป้อนนมให้พี่เลี้ยงหันไปทางอื่น ไม่ต้องมองหน้าเจ้าตัวน้อย เพื่อไม่เป็นการเตือนให้เด็กนึกถึงคุณแม่ นอกจากนี้ พี่เลี้ยงอาจย้ายไปป้อนนมในห้องอื่นที่มีสภาพแวดล้อมต่างจากห้องที่คุณแม่เคยให้นมเจ้าตัวน้อยเป็นประจำ เช่น หากคุณแม่เคยให้นมจากเต้าในห้องมืดๆ พี่เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงการป้อนนมจากขวดในห้องมืดๆ เป็นต้น 6.หาตัวช่วย อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ หากคุณลองทุกวิธีแล้วก็ยังไม่ได้ผล คุณอาจขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว หรือขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ ที่เป็นคุณแม่ที่เคยผ่านประสบการณ์เช่นนี้มาก่อน คุณอาจได้วิธีเด็ดๆ ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนก็ได้ 7.อดทน คุณแม่ต้องอดทนเข้าไว้ แม้เจ้าตัวน้อยจะร้องงอแงทุกครั้งที่ป้อนนมด้วยขวด และแม้คุณอาจลองเปลี่ยนขวดนมและจุกนมมาแล้วกว่า 15 แบบแล้วก็ตาม อย่าเพิ่งท้อใจ สักระยะลูกจะรู้เองว่า แม่ไปทำงานต้องกินขวด หากแม่กลับมา หรือวันที่แม่อยู่บ้านจะได้กินเต้า เด็กนมแม่จะแยกได้ทั้งขวดและเต้าในเวลาต่อมาค่ะ และหากช่วงแรกลูกกินนมจากขวดได้น้อย ไม่ต้องเป็นกังวลนะคะ เพราะสักระยะเจ้าตัวน้อยจะปรับตัวได้เอง 8.ให้ลูกดูดเต้าให้เต็มที่ก่อนไปทำงาน วันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน แนะนำให้ป้อนนมซุกเต้าให้เต็มที่ก่อน แล้วเอานมสต๊อกให้เจ้าตัวน้อยกินตอนแม่ไม่อยู่ ระหว่างทำงานต้องปั๊มทุก 2-3 ชม. ไม่ปล่อยนมค้างเต้านานเกิน 4 ชม. คุณแม่สามารถเอานมที่ปั๊มใส่ถุงแช่ในตู้เย็นออฟฟิศ หรือกระติกน้ำแข็ง หรือใส่คูลแพ็คไว้ได้ กลับถึงบ้านให้ลูกกินเต้าทันที แม้กระทั่งมื้อดึกก็ป้อนเต้าเหมือนเดิม ไม่ต้องกลัวลูกไม่เอาเต้าค่ะ
Read more
 profile icon
Write a reply