Privacy PolicyCommunity GuidelinesSitemap HTML
Download our free app
Teacher at Kidder Club
มาเปลี่ยน "ห้าม ไม่ อย่า หยุด" ให้กลายเป็นคำพูดเชิงบวกกันค่ะ
แรก ๆ อาจจะยากสักหน่อย ใช้ไปเรื่อย ๆ จะสร้างความเคยชินใหม่ ทำให้ใช้ง่ายขึ้นค่ะ ❤ นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกดีแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ด้วย * ใช้ได้ตั้งแต่ตอนเป็นทารกยันโตได้เลย ใครมีคำพูด "ห้าม ไม่ อย่า หยุด" ที่ยังไม่รู้จะเปลี่ยนเป็นเชิงบวกยังไง มาคอมเม้นไว้ได้ค่ะ 😄
Q : ลูกชอบโยนอาหารมากเลยค่ะ ต้องสอนยังไงดี ? A : เด็กเล็ก กินเพื่อ “สำรวจ” ไม่ใช่เพื่อ “อิ่ม”
เวลากินข้าวเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของหลาย ๆ บ้าน และเป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายของหลาย ๆ บ้านเช่นกัน ลูกเอาข้าวเข้าปากบ้าง เอามาเล่นบ้าง แม่ก็ลุ้นใจจดใจจ่อ กลัวลูกจะไม่อิ่ม แต่ในของเด็ก เขาไม่ได้จะกินให้ “อิ่ม” แต่เขากำลัง “สำรวจ” อาหารตรงหน้าอยู่ 1. เข้าใจก่อนว่า เด็กวัยก่อน 1 ขวบ จะใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจโลก ไม่ว่าจะใช้ตามอง หูฟัง จมูกดม ผิวสัมผัส และลิ้นชิมรส 2. อาหารหลักของเด็กวัยนี้คือ “นม” ส่วนอาหารอื่นเป็นเพียงอาหารเสริม (ถ้ากินนม ไม่กินข้าว ก็ยังโอเคอยู่ค่ะ) 3. เป้าหมายของการนั่งกิน : เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกที่ดี ให้มีความสุขกับการกิน ให้เขาได้ใช้ตามอง ใช้ลิ้นชิมรส ใช้จมูกดม ใช้มือคลำหยิบจับได้เต็มที่ มากกว่าจะกินเพื่อให้อิ่ม 4. การหยิบอาหารออกจากจานก็เป็นวิธีหนึ่งที่เด็กใช้สำรวจเช่นกัน คุณแม่อาจหาผ้าสะอาด ๆ มาปูรองพื้น เก็บอาหารที่ตกบนผ้าปูมาให้ลูกสำรวจใหม่ได้ 5. สำคัญคือเราทำใจนิ่ง ๆ ไว้ ทำให้เหมือนเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องแสดงอาการตกใจหรือดุลูกค่ะ ตกก็เก็บขึ้นมาได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ 6. เน้นที่ให้ลูกมีความรู้สึกที่ดีกับการกิน ควรให้ลูกร่วมโต๊ะอาหารด้วยทุกมื้อ (แม้ว่าลูกจะไม่มีอาหารในมื้อนั้น) และนั่งกินพร้อมกันด้วยเลย เพื่อเป็นตัวอย่างและสร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน //แต่ละบ้านเป็นอย่างไรกันบ้างมาแชร์กันได้ค่ะ 😊